ปัญหาโรฮิงญาหรือผู้อพยพอิสลามจากประเทศเมียนมาร์นั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถือว่าหนักพอสมควรสำหรับประเทศเพื่อนบ้านร่วมไปถึงประเทศที่คนเหล่านี้ไป เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวเป็นเหมือนคนเร่ร่อนและผู้ลี้ภัย ไม่สามารถที่จะอยู่ในประเทศของตัวเองได้ แต่หากจะให้ไปอยู่ในประเทศอื่นก็ต้องมีการควบคุมเป็นอย่างดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เนื่องจาก กลุ่มโรฮิงญา เป็นชนเผ่าขนาดใหญ่ และไม่มี่การคุมกำเนิดอย่างเป็นทางการ ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปมักมีจำนวนประชากรมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกลืนเชื้อชาติ ของเมือง ที่ตนเองเข้าไปอยู่ได้
นอกจากนี้แล้วหากจะรับคนกลุ่มดังกล่าวเข้ามาในประเทศของตน จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบเป็นอย่างดี พร้อมกับต้องทำความเข้าใจในวัฒนธรรมของพวกเขาด้วย ซึ่งประเทศที่ไมได้นับถือศาสนาเดียวกัน อาจจะไม่สามารถรับมือกับผู้อพยพกลุ่มนี้ได้
แต่ก็ใช่ว่าโรฮิงญา จะไม่ถูกต้อนรับจากคนทั้งโลก เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ บังกลาเทศ ได้ตัดสินใจที่ยื่นมือช่วยเหลือคนกลุ่มนี้โดยการรับตัวเข้าไปดูแลในประเทศ และสร้างที่พักพิงสำหรับรองรับการมาถึงของพวกเขา ซึ่งนี่ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะการที่บังกลาเทศตัดสินใจแบบนี้ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการเข้ามาช่วยเหลือ ไม่เฉพาะแค่เรื่องค่ายพักอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงเรื่องของค่าอาหาร และสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ต้องจัดให้อย่างเหมาะสมอีกด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ชุมชมผู้อพยพอาจกลายเป็นปัญหากับประเทศ อนาคตได้
สำหรับสถานที่นี้ทางบังกลาเทศเลือกจะให้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้อาศัยอยู่ก็คือ เกาะเล็กๆ บริเวณอ่าวเบงกอล แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเกาะร้างก็ใช่ว่าจะลำบากซักทีเดียว เพราะว่าสามารถที่จะเดินทางข้ามไปยังชายฝั่งที่เป็นที่อยู่ของผู้คนได้ในเวลาแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตามข้อเสนอเรื่องการเอากลุ่มโรฮิงญาไปอาศัยยังเกาะดังกล่าว เป็นการชั่วคราวกลับไม่ค่อยได้รับความเห็นด้วยมากนักจากกลุ่มผู้ลี้ภัย เนื่องจากพวกเขาค่อนข้างมีความกังวลในเรื่องของลมและพายุ ที่อาจจะพัดมายังเกาะดังกล่าวได้ เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกาะดังกล่าวเป็นเกาะร้างไร้ผู้คน ก็มาจากเมื่อนานมาแล้ว เคยมีพายุพัดเข้าฝั่ง และทำความเสียหายให้กับเกาะเป็นอย่างมาก จนทำให้ต้องอพยพผู้คนในเกาะให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น
แต่หากมองในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือจะเห็นได้ว่า บังกลาเทศ เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทีได้เสนอตัวในการให้การช่วยเหลือ และมีความพร้อมในการรับมือกับผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้มากที่สุด