BANGLADOOT สถานทูตบังคลาเทศ

เกี่ยวข้องกับ Sweden Finland Norway

บังกลาเทศดินแดนแห่งอ่าวเบงกอลเอเชียใต้

บังกลาเทศ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ตั้งอยู่ในแถบเอเชียใต้ โดยครอบครองเนื้อที่ทางตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล ด้วยเหตุนี้ บังกลาเทศ จึงแปลว่า ประเทศแห่งเบงกอล โดยถูกโอยด้วยประเทศอินเดียทั้ง 3 ด้าน ยกเว้นด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล ส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับพม่า มีภาษาเบงกาลีเป็นภาษาประจำประเทศ

กว่าจะกลายมาเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้มีความเป็นมาอันยาวนานกว่า 1,000 ปี ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป อันเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาพราหมณ์และศาสนาพระพุทธมาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ จนกลายมาเป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือมาจนถึงทุกวันนี้

หลังจากตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นเวลาถึง 200 ปี เมื่อมาถึงปี พ.ศ.2490 ดินแดนแห่งนี้ก็ได้รับเอกราช แต่ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถานอยู่ โดยมีฉายาว่า “ปากีสถานตะวันออก” แต่เพราะความแตกต่างในเรื่องต่างๆมากจนเกินไป จึงได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชในปี พ.ศ. 2514 พร้อมชื่อสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศBangladesh-photo

บังกลาเทศตั้งอยู่ห่างจากประเทศไทยเพียงแค่บิน 2 ชั่วโมงนิดๆ จึงทำให้มีอะไรหลายอย่างมีความคล้ายคลึงกับบ้านเราอย่างแรกคือการจราจร โดยเมืองหลวงนามกรุงธากา ระบบขนส่งมวลชนมีทั้งรถเมล์ทั้งชั้นเดียวและ 2 ชั้นที่เรียกว่ายัดทะนาน อีกทั้งยังมีรถ 3 ล้อถีบกับรถตุ๊กตุ๊กอีกด้วย การจราจรที่นี่วิ่งกันแบบปราศจากเลน คือ ถึงแม้จะมีการตีเส้นจราจรก็ตามแต่ก็เหมือนไม่มี ผู้คนขับรถกันน่ากลัวมาก ถึงจะมีคนกำลังเดินข้ามถนนก็ไม่มีชะลอแม้แต่น้อย แต่น่าแปลกใจที่กลับไม่เห็นอุบัติเหตุเลย เนื่องจากอาจจะเป็นเพราะขับกันจนชำนาญแล้ว และสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เวลาอยู่บนท้องถนนก็คือเสียงบีบแตร ซึ่งมีการร้องระงมอยู่ตลอดเวลา

ค่าครองชีพของประเทศนี้ไม่ค่อยสูง โดยเงินจำนวน 1 ธากามีค่าเท่ากับ 50 สตางค์ ค่าโดยสารรถเมล์ร้อนเที่ยวหนึ่งก็ประมาร 2.50 – 10 บาทแล้วแต่ระยะทางใกล้ – ไกล ส่วนรถสาธารณะติดแอร์มีราคา 25 บาท , รถตุ๊กตุ๊กที่ทาสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์เด่นสะดุดตา สามารถนั่งได้ 2 คน แถมมีประตูลูกกรงติดด้วย เพื่อป้องกันผู้โดยสารหนี มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 12.50 บาท

ถึงแม้คนไทยจำนวนมากจะไม่ค่อยรู้จักบังกลาเทศ แต่ชาวเบงกาลีรู้จักประเทศไทยดีมาก โดยเฉพาะทางด้านฝีมือการแพทย์ โดยชาวเบงกาลีส่วนใหญ่นิยมบินมาหาหมอที่เมืองไทยเพราะเป็น Medical hub อีกทั้งยังใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมอีกอย่าง คือ ภาษาไทยและภาษาเบงกาลีมีการนำเอาภาษาสันสกฤตและบาลีมาใช้เหมือนกัน จึงทำให้เกิดความผูกพันใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก

Updated: August 27, 2018 — 8:12 am
Frontier Theme